ReadyPlanet.com
ละไม มิวสิค
ละไม ไทยแลนด์
ละไม วาไรตี้
ละไม ต่างแดน
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา




คาราบาว article

ติดต่องานคอนเสิร์ต วงคาราบาว : 086 9708319  คุณอ้วน /                      
Line ID : uan1948                                                                                                                                                                                                                                       

       คาราบาว ( CARABAO ) วงดนตรีที่ถูกยกให้เป็นตำนานวงดนตรีเพื่อชีวิตของประเทศไทย ที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงอันทรงคุณค่าให้แก่สังคมไทยมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี เริ่มต้นจากสองนักศึกษาไทยที่ได้รู้จักกันในระหว่างเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศฟิลิปปินส์ นั่นคือ ยืนยง โอภากุล (แอ็ด) และ กีรติ  พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีชื่อ “คาราบาว” เป็นภาษาตากาล็อก แปลว่า “ควาย” โดยมีหัวควาย เป็นสัญลักษณ์ของวง ซึ่งหมายถึง ความอดทน และการต่อสู้               

         อัลบั้มชุดแรก ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2524 ชื่อชุด “ขี้เมา” โดยมีเพลง “ลุงขี้เมา” เป็นเพลงเอก ผสมผสานกลิ่นอายของดนตรีในแบบฟิลิปปินส์ และเพลง “มนต์เพลงคาราบาว” ถือเป็นเพลงประจำวงไปแล้ว ต่อมาอัลบั้มชุดที่ 2 ในปี 2525 “แป๊ะขายขวด” ชุดนี้ได้ ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) อดีตสมาชิกวงเพรสซิเด้นท์มาร่วมเสริมทีมให้แข็งแกร่งขึ้น สองชุดแรกถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็มีเพลง “กัญชา” ที่เป็นเพลงฮิตอมตะ ถูกใจคนฟังกันมาก ด้วยการร้องแบบลากเสียงยาวนานสะกดอารมณ์คนฟัง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของเพลงนี้


          อัลบั้มชุดที่ 3 ในปี 2526 วณิพก” ชุดนี้ทำให้เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงเพื่อชีวิตทั่วประเทศ โดยเฉพาะเพลง “วณิพก” เป็นเพลงสนุก ๆ จังหวะสามช่า เนื้อหาโดนใจ ชุดนี้ยังได้ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และวงเพรสซิเดนท์ มาร่วมบันทึกเสียงเพื่อความสมบูรณ์ของดนตรี  ต่อมาเป็นทีของอัลบั้มที่ 4  “ท.ทหารอดทน”  ถึงแม้เพลงนี้ถูกแบน เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวข้องพาดพิงกับทหาร แต่ก็ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น คนเก็บฟืน และ ตุ๊กตา ที่สำคัญชุดนี้ ได้นักดนตรีฝืมือดีมาร่วมงานเพิ่มอีก นั่นคือ เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) ตำแหน่งกีต้าร์,  อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ตำแหน่งเครื่องเป่า และ อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) ตำแหน่งกลอง       

          จนกระทั่งปีพ.ศ.2527 อัลบั้มชุดที่ 5  “เมดอินไทยแลนด์” นับเป็นการก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของคาราบาว ชุดนี้สร้างชื่อเสียงและยอดขายให้แก่คาราบาวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 5 ล้านตลับ ด้วยบทเพลง “เมดอินไทยแลนด์” ที่ตอกย้ำนโยบายของรัฐบาลให้ส่งเสริมการใช้ของไทย และชุดนี้ถือเป็นยุคคาราบาวคลาสสิค ตั้งแต่พ.ศ.2524 – 2531 ประกอบไปด้วยสมาชิก 7 คน อันได้แก่ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) กีต้าร์และร้องนำ, กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) กีต้าร์, คีย์บอร์ดและเพอร์คัสชั่น, ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) กีต้าร์และร้องนำ, เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) กีต้าร์และร้องนำ, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี คีย์บอร์ดและเครื่องเป่า, อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) กลอง และ ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) เบส      

   
         
ต่อมาชุดที่ 6 ในปี 2528 อัลบั้ม “อเมริโกย” เนื้อหาออกแนวแหน็บแนมสถานการณ์บ้านเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ในขณะนั้น อัลบั้มนี้ได้ อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) ตำแหน่ง เบส เข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัว จนในยุคของการเรียกร้องประชาธิปไตยจึงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 7 ชื่อ “ประชาธิปไตย” ในปี 2529 เนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคมการเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเพลง “ประชาธิปไตย” หรือ “ผู้ทน” และยังมีเพลง “เจ้าตาก” ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า และสร้างกระแสให้คนไทยรักชาติรักแผ่นดิน      

          ปี 2530 เป็นช่วงที่รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว ให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จึงได้เกิดเป็นอัลบั้มชุดที่ 8 “เวลคัมทูไทยแลนด์”  ซึ่งเพลงนี้ได้ผสมผสานสีสันกลิ่นอายของดนตรีไทยเข้าไปด้วย จึงทำให้บทเพลงมีรสชาติครบถ้วน ปี 2531 ถึงคราวของอัลบั้มชุดที่ 9 ทับหลัง” เป็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อทวงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ตกไปอยู่ในมือต่างชาติให้กลับคืนมาและก็ได้กลับมาคืนสู่ประเทศไทยในเวลาต่อมา  

         หลังจากอัลบั้มชุดนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในวงอีก แต่ก็ยังมีงานอัลบั้มชุดที่ 10 ตามคำเรียกร้องชื่อชุด “ห้ามจอดควาย” หลังจากนั้นสมาชิกบางคนก็หันไปออกอัลบั้มเดี่ยวกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกหลัก ๆ อย่าง แอ๊ด, เล็ก, อ๊อด  ยังคงอยู่ จึงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 11  “วิชาแพะ”  รวมทั้งยังได้นักดนตรีฝีมือเยี่ยมมาร่วมเสริมทัพอีกหลายคน

          ปี 2535 อัลบั้มชุดที่ 12  “สัจจะ 10 ประการ” ชุดนี้ยังคงเกาะติดสถานการณ์บ้านเมือง นอกจากนี้ยังมีเพลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ, ปี 2536 อัลบั้มชุดที่ 13  “ช้างไห้”  เนื้อหาเน้นไปในเรื่องการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม และการดำรงคงอยู่ของธรรมชาติ, ปี 2537 อัลบั้มชุดที่ 14  “คนสร้างชาติ” เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักชาติ และชุดนี้ยังได้อาจารย์พยัพ คำพันธุ์ เซียนพระชื่อดัง มาแต่งเพลง “หลวงพ่อคูณ” ให้ จนโด่งดังไปทั่วประเทศ  ต่อมาปี 2538 อัลบั้มชุดที่ 15  “แจกกล้วย” แนวเพลงเสียดสีปัญหาการเมืองระดับท้องถิ่น และในปีเดียวกันต่อด้วยอัลบั้มที่ 16  “หากหัวใจยังรักควาย” ถือเป็นอัลบั้มฉลองครบรอบ 15 ปีคาราบาว โดยมีเพลง “สามช่าคาราบาว” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางบนเส้นทางสายดนตรีของคาราบาวได้เป็นอย่างดี

          ปี 2540 อัลบั้มชุดที่ 17  “เส้นทางสายปลาแดก”  เนื้อหาบทเพลงส่วนใหญ่เป็นแนวอนุรักษ์ความเป็นไทยท้องถิ่น ปลายปีเดียวกัน ออกอัลบั้มชุดที่ 18  “เช ยังไม่ตาย”  พูดถึง เช กูวารา นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจเผด็จการ  ปี 2541 อัลบั้มที่ 19  “อเมริกันอันธพาล” ชุดนี้สมาชิกบางคนที่แยกตัวออกไปทำอัลบั้มเดี่ยวก็ได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้งทำให้ศักยภาพวงคาราบาวแน่นปึ๊ก ปลายปีเดียวกันออกอัลบั้มชุดที่ 20  “พออยู่พอกิน” เพื่อปลุกกระแสให้คนไทยใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ                  

         ปี 2543 อัลบั้มชุดที่ 21  “ เซียมหล่อตือ”  เนื้อหาแนวเสียดสีปัญหาสังคมการเมืองไทย นอกจากนี้ยังมีเพลง “บางระจันวันเพ็ญ” ที่เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องบางระจัน เป็นเพลงฮิตในชุดนี้ด้วย  ในปี 2544 อัลบั้มชุดที่ 22  สาวเบียร์ช้าง”  มีเพลง "ปุระชัยเคอร์ฟิว" ตอกย้ำนโยบายของรัฐในยุคนั้นที่ให้ปิดสถานบริการกลางคืนในเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ที่ทำงานกลางคืนต่างเดือดร้อนกันไปหมด                  

          ปี 2545 อัลบั้มชุดที่ 23  “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่”  ชุดนี้มีเพลงเนื้อหาดี ๆ ที่ฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองอย่างเพลง “คนล่าฝัน” เป็นเพลงเสริมสร้างกำลังใจให้ทุกคนลุกขึ้นต่อสู้เพื่อความฝันของตัวเอง ในปี 2548 อัลบั้มที่ 24  “สามัคคีประเทศไทย” สะท้อนปัญหาของการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยคาราบาวถ่ายทอดบทเพลงสื่อสารให้คนไทยทุกคนรักกันสามัคคีกัน ต่อมาปี 2550 อัลบั้มชุดที่ 25 "ลูกลุงขี้เมา" เป็นเพลงต่อเนื่องจากเพลง "ลุงขี้เมา" ชุดนี้ทำขึ้นในวาระครบรอบ 25 ปีคาราบาว โดยทำออกมาเป็นอัลบั้มคู่ 2 ซีดี ในปี 2552 อัลบั้มชุดที่ 26 "โฮะ" หมายถึงแกงโฮะ แปลว่า รวม ชุดนี้มีความหลากหลายเปรียบเสมือนแกงโฮะ ไม่ว่าจะเป็นการนำทำนองเพลง "เมดอินไทยแลนด์" มาแต่งเนื้อเพลงใหม่เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง และยังมีเพลง "เพื่อชีวิตติดล้อ" ที่มี เสก โลโซ รับเชิญมาร่วมร้องเพลงนี้ด้วย นอกจากอัลบั้มดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอัลบั้มพิเศษต่าง ๆ 
รวมทั้งอัลบั้มเดี่ยวของสมาชิกวงคาราบาวอีกหลายอัลบั้มที่ยังไม่ได้กล่าวถึง


                          

ส่วนสมาชิกวงคาราบาวยุคปัจจุบันที่มีเพิ่มเติมเข้ามาได้แก่ ลือชัย งามสม (ดุก) คีย์บอร์ด, ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี) กีต้าร์, ชูชาติ หนูด้วง (โก้) กลอง 1, ธนะสิทธิ์ พันธุพงษ์ไทย (อ้วน) กลอง 2                                                                                                                                       

ติดต่องานคอนเสิร์ต วงคาราบาว : 086 9708319  คุณอ้วน / Line ID : uan1948                                                    

                                         

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ CARABAO 30TH ANNIVERSARY / ภาพ : Internet                                
เรียบเรียง : ละไมไทยแลนด์ดอทคอม                  

          

          


ติดต่องานคอนเสิร์ต วงคาราบาว  :  086 970 8319  คุณอ้วน / Line ID : uan1948         

              




ละไม มิวสิค

โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง Concert
โป่ง หิน เหล็ก ไฟ article
อี๊ด ฟลาย, ปีเตอร์ คอร์ป, แคทรียา อิงลิช article
บิลลี่ โอแกน article
อิ๊ด & กบ DOUBLE ROCK article
อิ๊ด ฟลาย article
NUVO article
ก้อง สหรัถ, ก้อง นูโว article
เจ เจตริน article
กบ แท็กซี่ article
ดิษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่ article
TRIPLE ROCK อี๊ด-โป่ง-กบ article
TRIPLE ROCK โป่ง หินเหล็กไฟ, ปู แบล็คเฮด, กบ แท็กซี่ article
แบล็คเฮด (Black Head) article
ไมโคร article
เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ article
Y NOT 7 article
โป่ง หินเหล็กไฟ และ กบ แท็กซี่ article
เป้ ไฮ-ร็อค และ เจี๊ยบ พิสุทธิ์ article
COCKTAIL article
หนุ่ม กะลา article
ลาบานูน article
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ article
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ article
หงา คาราวาน article
มาลีฮวนน่า article
ทอม ดันดี article
บ่าววี article
แสน นา'กา article
นา'กา " คิดถึงเธอ "
บ่าววี & แสน นากา
เดวิด อินธี article
ROCK STORY รวมพลังร็อค
ROCK OF FOUR
บอย พีชเมคเกอร์ article
พั้นช์ วรกาญจน์ article
แจ็ค ไอเฟล Full Band
คอนเสิร์ต ลพบุรี..ทุ่งทานตะวัน